แบบสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล ป.แพทย์ นครราชสีมา

คำชี้แจง : คำตอบของท่านทุกข้อมีความสำคัญต่อการวางแผนพัฒนาองค์กร ขอให้ท่านตอบแบบสอบถามได้อย่างอิสระ ข้อมูลของท่านจะไม่ได้นำไปเปิดเผย และไม่มีผลต่อการปฏิบัติงานของท่านแต่อย่างใด
ข้อมูลพื้นฐาน

1. ท่านทำงานในโรงพยาบาลแห่งนี้มานานเท่าไร
2. ท่านทำงานในพื้นที่ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานปัจจุบันมานานเท่าไร
3. โดยทั่วไป ท่านทำงานกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในโรงพยาบาลนี้
4. ท่านมีตำแหน่งอะไรในโรงพยาบาลนี้ เลือกข้อที่เหมาะสมที่สุดกับตำแหน่งงานของท่าน
5. ในตำแหน่งงานของท่าน ท่านมีปฏิสัมพันธ์หรือสัมผัสโดยตรงกับผู้ป่วยหรือไม่
6. ท่านทำงานในสาขาหรือวิชาชีพนี้มานานเท่าไร
ในการสำรวจนี้ให้นึกถึงหน่วยงานของท่านว่าเป็นพื้นที่ปฏิบัติงาน แผนกหรือ Clinical area ของโรงพยาบาลซึ่งท่านใช้เวลาทำงานมากที่สุดหรือให้การดูแลทางคลินิกมากที่สุด

พื้นที่ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานหลักของท่านในโรงพยาบาลนี้คืออะไร
โปรดระบุว่าท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับข้อความเกี่ยวกับพื้นที่ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานของท่านต่อไปนี้

คิดถึงพื้นที่ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานของท่าน

1. สมาชิกในหน่วยงานนี้ช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน
2. เรามีกำลังคนเพียงพอที่จะรองรับปริมาณของหน่วยงาน
3. ถ้ามีงานจำนวนมากที่ต้องทำให้เสร็จอย่างรวดเร็ว เราจะทำงานร่วมกันเป็นทีม
4. สมาชิกในหน่วยงานนี้ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพให้เกียรติกัน
5. เรามีชั่วโมงทำงานมากเกินกว่าที่จะให้การดูแลผู้ป่วยให้ดีที่สุดได้
6. เรากำลังเร่งพัฒนางานเพื่อยกระดับความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย
7. เราใช้เจ้าหน้าที่ชั่วคราวหรือเจ้าหน้าที่จากภายนอกมากเกินไปจนทำให้ไม่สามารถให้การดูแลผู้ป่วยได้ดีที่สุด
8. เจ้าหน้าที่รู้สึกว่าความผิดพลาดของตนจะถูกนำมาจัดการลงโทษ
9. ที่หน่วยงานนี้ ความผิดพลาดทั้งหลายนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงในด้านบวก
10. การที่ไม่เกิดความผิดพลาดร้ายแรงขึ้นที่นี่เป็นเพราะเหตุบังเอิญ
11. ถ้าหน่วยงานนี้ งานยุ่ง จะมีคนอื่นมาช่วยเหลือ
12. เมื่อมีการรายงานเหตุการณ์ จะเกิดความรู้สึกว่าสิ่งที่ถูกรายงานคือตัวบุคคล ไม่ใช่ปัญหา
13. เราประเมินประสิทธิผล หลังจากที่ได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงเพื่อยกระดับความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย
14. เราทำงานแบบอยู่ในภาวะวิกฤติ พยายามทำงานมากเกินไปเร่งรีบเกินไป
15. แม้จะต้องทำงานมากขึ้น แต่ก็ไม่เคยละเลยความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย
16. เจ้าหน้าที่กังวลว่าความผิดพลาดของตนจะถูกเก็บบันทึกไว้ในแฟ้มประวัติ
17. เรามีปัญหาความปลอดภัยของผู้ป่วยในหน่วยงานนี้
18. แนวทางปฏิบัติและระบบของเราสามารถป้องกันความผิดพลั้งได้ดี
19. หัวหน้างานของฉันจะกล่าวชื่นชม เมื่อเห็นว่ามีการปฏิบัติงานตามแนวทางด้านความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยที่กำหนดไว้
20. หัวหน้างานของฉันจะพิจารณาข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยอย่างจริงจัง
21. เมื่อไรก็ตามที่มีภาวะกดดัน หัวหน้างานจะขอให้เราทำงานเร็วขึ้น แม้ว่าอาจจะเกิดการทำงานที่ลัดขั้นตอนและอาจส่งผลให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
22. หัวหน้างานของฉันมักจะมองข้ามปัญหาความปลอดภัยของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นแล้วซ้ำอีก
23. เราได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากรายงานเหตุการณ์
24. เจ้าหน้าที่สามารถให้ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเมื่อพบเห็นบางสิ่งบางอย่างที่อาจจะมีผลด้านลบต่อการดูแลผู้ป่วย
25. เราได้รับทราบการบอกเล่าข้อมูลเกี่ยวกับความผิดพลั้ง ซึ่งเกิดขึ้นในหน่วยงานนี้
26. เจ้าหน้าที่กล้าตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจหรือการกระทำของผู้ที่มีอำนาจมากกว่า
27. ในหน่วยงานนี้ เราพูดคุยกันถึงวิธีการที่จะป้องกันความผิดพลั้งไม่ให้เกิดซ้ำขึ้นอีก
28. เจ้าหน้าที่ไม่กล้าซักถามเมื่อเห็นบางสิ่งบางอย่างไม่ถูกต้อง
29. มีการรายงานเหตุการณ์ทุกครั้ง เมื่อมีการกระทำผิดพลาดเกิดขึ้น และได้รับการตรวจพบและแก้ไขก่อนที่จะมีผลต่อผู้ป่วย
30. มีการรายงานเหตุการณ์ทุกครั้ง ในกรณีมีการกระทำผิดพลาดเกิดขึ้น แต่ไม่มีโอกาสเกิดอันตรายต่อผู้ป่วย
31. มีการรายงานเหตุการณ์ทุกครั้ง ในกรณีมีการกระทำผิดพลาดเกิดขึ้น และอาจจะมีโอกาสเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยแต่ไม่เกิด
32. ผู้บริหารโรงพยาบาลสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ส่งเสริมความปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย
33. หน่วยงานต่างๆในโรงพยาบาลไม่ค่อยให้ความร่วมมือกัน
34. ปัญหาในการย้ายผู้ป่วยระหว่างหน่วยงานมักจะถูกมองข้ามไป
35. มีความร่วมมือที่ดีระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในโรงพยาบาลที่ต้องทำงานร่วมกัน
36. ข้อมูลการดูแลผู้ป่วยที่สำคัญมักจะสูญหายไปหรือไม่มีการสื่อสารระหว่างเปลี่ยนเวร
37. มักจะรู้สึกไม่มีความสุขเมื่อต้องทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นในโรงพยาบาล
38. มักจะเกิดปัญหาขึ้นในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ
39. การกระทำของผู้บริหารโรงพยาบาลแสดงให้เห็นว่าความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญสูงสุด
40. ดูเหมือนว่าผู้บริหารโรงพยาบาลจะสนใจในความปลอดภัยของผู้ป่วย ต่อเมื่อมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น
41. หน่วยงานในโรงพยาบาลทำงานร่วมกันได้ดีเพื่อให้การดูแลที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย
42. มักจะเกิดปัญหากับผู้ป่วยขึ้นในช่วงเปลี่ยนเวร
โปรดให้คะแนนความปลอดภัยของผู้ป่วยโดยรวม สำหรับพื้นที่ปฏิบัติงานหรือหน่วยงานของท่าน
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา , ท่านได้บันทึกและส่งรายงานจำนวนเท่าไร
ขอให้ท่านแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้ป่วย ความผิดพลั้ง หรือการรายงานเหตุการณ์ในโรงพยาบาลของท่านอย่างอิสระ

Copyright © 2018 IT Porpat Hospital | Design by ARTIT PR.